วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

สมุนไพรไทย

มะตูม
ประโยชน์ของมะตูมนี้มีมากมายจนหลายๆ คนนึกไม่ถึงเลยทีเดียวค่ะ มะตูมเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรไทยที่หลายๆ คนคงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า สรรพคุณของมะตูม และ ประโยชน์ของมะตูม นั้นมีมากมายเพียงใด เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะเคยกินน้ำมะตูมกันมาบ้างอย่างแน่นอน เพราะน้ำมะตูนนั้นจะมีกลิ่นหอม ดื่มแล้วจะทำให้ชุมคอแก้กระหายได้เป็นอย่างดี และนอกจากนั้นมะตูมยังเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรไทยที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านดั้งเดิมที่ไม่เคยจางหาย แต่ทว่า สรรพคุณของมะตูม และ ประโยชน์ของมะตูม ยังคงไม่หมดแต่เพียงเท่านั้นนะค่ะ ถ้าอย่างนั้นวันนี้เราไปดู สรรพคุณของมะตูม และ ประโยชน์ของมะตูม กันเลยดีกว่านะค่ะว่าจะมีมากมายสักแค่ไหน เพียงแค่คุณรู้วิธีและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์รับรองว่าคุณจะมองเห็นสรรพคุณต่างๆ มากมายของสมุนไพรไทยใกล้ตัวจนอาจจะไม่ต้องเสียค่ายารักษาที่แพงๆ เลยก็ได้และแถมไม่มีพิษภัยตกค้างกับร่างกายเราอีกด้วย ว่าแล้วเราก็มาดู สรรพคุณของมะตูม และ ประโยชน์ของมะตูม

         สรรพคุณ / ประโยชน์ของมะตูม

ผลโตเต็มที่ - ฝานเป็นชิ้นบางๆ ตากแห้งคั่วให้เหลือง ชงรับประทาน แก้ท้องเดิน ท้องเสีย ท้องร่วง โรคลำไส้เรื้อรังในเด็ก
ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุก - น้ำมาเชื่อมรับประทานต่างขนมหวาน จะมีกลิ่นหอม และรสชวนรับประทาน บำรุงกำลัง รักษาธาตุ ขับลมผลสุก - รับประทานต่างผลไม้ เป็นยาระบายท้อง และยาประจำธาตุของผู้สูงอายุ ที่ท้องผูกเป็นประจำใบ - ใส่แกงบวช เพื่อแต่งกลิ่นราก - แก้หืด หอบ แก้ไอ แก้ไข้ ขับลม แก้มุตกิด
วิธีและปริมาณที่ใช้
ใช้ผลโตเต็มที่ ฝานตากแห้ง คั่วให้เหลือง ชงน้ำดื่ม ใช้ 2-3 ชิ้น ชงน้ำเดือดความแรง 1 ใน 10 ดื่มแทนน้ำชา หรือชงด้วยน้ำเดือด 2 ถ้วยแก้ว ดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว


        ลูกเดือย  ประโยชน์ของลูกเดือย หลายๆ คนคงจะรู้จักลูกเดือยดีว่ามีลักษณะเป็นเม็ดกลมๆ เล็กๆ และเชื่อว่าหลายๆ คนก็คงจะเคยกินและบางคนก็ถึงกับชอบกินลูกเดือยแน่นอน แต่คุณรู้ไหมค่ะว่าลูกเดือยที่เรารู้จักกันนี้มีประโยชน์มากมายแค่ไหน ถ้าอย่างงั้นวันนี้เราเข้าไปรู้จักกับ สรรพคุณของลูกเดือย และ ประโยชน์ของลูกเดือย กันค่ะ ว่ากันว่า ประโยชน์ของลูกเดือย และ สรรพคุณของลูกเดือย สามารถบำบัดโรคได้เยอะมาก และที่สำคัญชาวจีนต่างยกให้ลูกเดือยนี้เป็นยาอายุวัฒนะอีกชนิดหนึ่งด้วยแหละ แต่ว่า ประโยชน์ของลูกเดือย และ สรรพคุณของลูกเดือย ยังไม่หมดแค่นี้นะค่ะ ถ้าไงแล้ววันนี้เราเข้าไปรู้จักกับ สรรพคุณของลูกเดือย และ ประโยชน์ของลูกเดือย ให้มากขึ้นกันเลยดีกว่านะค่ะ รับรองได้เลยว่าเกร็ดน่ารู้ๆ แบบนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่รักสุขภาพ อย่างแน่นอนค่ะ ว่าแล้วเราก็เข้าไปดูสรรพคุณของลูกเดือยและประโยชน์ของลูกเดือยกันเลยค่ะ

                   สรรพคุณ / ประโยชน์ของลูกเดือย


ในตำรายาจีนบอกไว้ว่า ลูกเดือย ซึ่งมีรสจืดนั้นมีฤทธิ์เป็นยาเย็น ช่วยบำรุงกำลัง หล่อลื่นกระเพาะอาหารและลำไส้ บำรุงปอด ม้าม ตับ ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไข้ แก้ท้องเสีย แก้ทางเดินหายใจ เหน็บชา แก้ปวดเข่า ปวดข้อ ไขข้ออักเสบ แก้ชักกระตุก บวมน้ำ ปอดอ่อนแอไอเป็นเลือด ฝีที่ลำไส้ แก้อาการ ตกขาวผิดปกติ ช่วยย่อยอาหาร บำรุงเส้นผมและผิวหนัง แก้ร้อนในกระหายน้ำ ลดการเกิดกระ รักษาโรคหูด ลดการ เกิดมะเร็ง เพราะมีสารคอกซีโนไลด์ (coxenolide)ที่มีสรรพคุณในการยับยั้งการเกิดเนื้องอกซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ว่าสารคอกซีโนไลด์ในเมล็ดเดือยมีสรรพคุณในการยับยั้งการเจริญของเนื้องอกและพบว่าสารสกัดด้วยน้ำหรือตัวทำละลายอินทรีย์ จากรากหรือเมล็ดเดือยมีฤทธิ์ทำให้การหมุนเวียนของเลือดที่ผิวหนังดีขึ้นทำให้เส้นผมงอกงามดีผลการทดลองการรักษาโรคหูดที่มักจะเป็นเรื้อรังก็ช่วยยืนยันสรรพคุณของลูกเดือย โดยการทดลองในคนไข้ 23 ราย ให้กินลูกเดือย 60 กรัม ต้มรวมกับข้าวรับประทานวันละ 1 ครั้ง ติดต่อกันจนกว่าจะหาย หลังจากกินลูกเดือยติดต่อกัน 7-76 วัน ได้ผลหายขาด 11 ราย อาการดีขึ้น 8 ราย ไม่ได้ผล 6 ราย ซึ่งอาจเป็นเพราะสารจากลูกเดือยมีฤทธิ์ทำให้เลือดมาเลี้ยงที่ผิวหนังดีขึ้น หรือจากฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกนั่นเองเหตุที่ลูกเดือยมีคุณค่าทางอาหารสูง เพราะมีปริมาณโปรตีน 13.84% คาร์โบไฮเดรต 70.65% เยื่อใย 0.23% ไขมัน 5.03% แร่ธาตุต่างๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะฟอสฟอรัสซึ่งช่วยบำรุงกระดูกมีอยู่ในปริมาณสูงรวมทั้งวิตามินเอที่ช่วยบำรุงสายตา วิตามินบี 1 และวิตามินบี 2 โดยเฉพาะ     วิตามินบี 1 มีในปริมาณ มาก (มีมากกว่าข้าวกล้อง) ซึ่งช่วยแก้โรคเหน็บชาด้วยคุณค่ายังไม่หมดเท่านี้ เพราะลูกเดือยยังมีกรดอะมิโนทุกชนิดที่สูงกว่าความต้องการตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ยกเว้นเมทไธโอนีนและไลซีน เช่น มีกรดกลูตามิกในปริมาณมากตามด้วยลูซีน, อลานีน,โปรลีน วาลีน, ฟินิลอลานีน, ไอโซลูซีน และอาร์จีนีนลดหลั่นลงมาแถมลูกเดือยยังมีกรดไขมันจำเป็นชนิดที่ไม่อิ่มตัวด้วย เช่น กรดโอเลอิค และกรดลิโนเลอิก รวมแล้วถึง 84% และเป็นกรดไขมันชนิดอิ่มตัว คือ ปาล์มิติ และสเตียริก เพียง 16% เท่านั้นลูกเดือยเป็นอาหารคุณภาพคับเมล็ดจริงๆ เพราะให้ทั้งพลังงาน ไขมัน แร่ธาตุ และกรดที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างยอดเยี่ยมลูกเดือยจึงเป็นอาหารบำรุงกำลังชั้นดีเหมาะสำหรับคนทุกเพศทุกวัย เด็กๆ ที่รับประทานลูกเดือยเป็นประจำจะช่วยบำรุงม้ามและกระเพาะอาหาร สตรีหลังคลอดควรรับประทานลูกเดือยเพื่อบำรุงเลือด และผู้สูงอายุที่รับประทานลูกเดือยจะช่วยบำรุงการทำงานของไตเหตุที่ลูกเดือยมีคุณค่าทางโภชนาการสูงดังกล่าวแล้ว คนจีนส่วนใหญ่จึงนิยมนำมาบดผสมข้าวต้มกินทุกวัน นอกจากนี้ลูกเดือยยังนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายชนิดรวมไปถึงทำเป็นอาหารเสริมหรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ

สรรพคุณ :
·         ดอกแก่จัด  -  ใช้เป็นยาหอมบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ แก้ลมวิงเวียน ชูกำลังทำให้ชุ่มชื่น ให้น้ำมันหอมระเหย ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง น้ำอบ ทำน้ำหอม ใช้ปรุงยาหอม บำรุงหัวใจ
·         ใบ, เนื้อไม้  -  ต้มรับประทาน เป็นยาขับปัสสาวะพิการ
วิธีใช้ :
1.            ใช้ดอกกลั่น  ได้น้ำมันหอมระเหย
2.            การแต่งกลิ่นอาหาร  ทำได้โดยนำดอกที่แก่จัด ลมควันเทียนหรือเปลวไฟจากเทียนเพื่อให้ต่อมน้ำหอมในกลีบดอกแตก และส่งกลิ่นหอมออกมา แล้วนำไปเสียบไม้ ลอยน้ำในภาชนะปิดสนิท 1 คืน เก็บดอกทิ้งตอนเช้า นำน้ำไปคั้นกะทิ หรือปรุงอาหารอื่นๆ
สรรพคุณ :
·         ต้นและราก  
-  ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย
·         ใบสด
-  ตำพอกโรคผิวหนัง -  รักษาโรคหืด -  น้ำใบเตย ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น   -  ใช้ผสมอาหาร แต่งกลิ่น ให้สีเขียวแต่งสีขนม
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
1.              ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
ใช้ต้น 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ ต้มกับน้ำดื่ม
2.              ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ
ใช้ใบสดไม่จำกัดผสมในอาหาร ทำให้อาหารมีรสเย็นหอม  รับประทานแล้วทำให้หัวใจชุ่มชื่น หรือเอาใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง
3.              ใช้เป็นยาแก้เบาหวาน
4.              ใช้ราก 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม เข้าเย็น

สรรพคุณ :
·         น้ำมะนาว  - แก้โรคลักปิดลักเปิด (เลือดออกตามไรฟัน) ทำอาหาร ขับเสมหะ ฟอกโลหิต ทำให้ผิวนุ่มนวล แก้ซาง บำรุงเสียง บำรุงโลหิต ขับระดู แก้เล็บขบ แก้ขาลาย จิบแก้ไอ ดับกลิ่นเหล้า ฆ่าพยาธิในท้อง รักษาผม ขับลม รักษาลมพิษ แก้ริดสีดวง แก้ระดูขาว แก้พิษยางน่อง แก้ไข้ แก้ไข้กาฬ แก้ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ
·         ราก - กระทุ้งพิษไข้ ถอนพิษสำแดง แก้สติหลงลืม แก้ไข้ แก้ไข้กาฬ แก้ฝี แก้ปวด แก้อักเสบ ถอนพิษไข้ กลับไข้ซ้ำ
·         ใบ - ฟอกโลหิต แก้ตับทรุด
·         ดอก - แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อและปวดท้อง แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน (เกิดจากธาตุไม่ปกติ ) แก้ไอ ขับเสมหะ
·         ผล - แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อและปวดท้อง ทาแก้ผิวแห้งตกสะเก็ด แก้สิวฝ้า แก้ส้นเท้าแตก แก้ไอ รักษาแผลจากแมลงมีพิษ
·         เมล็ด - แก้พิษตานซาง แก้หายใจขัด แก้ไข้ขับเสมหะ แก้พิษฝีภายใน
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
1.               ยาแก้ไอขับเสมหะ
น้ำในผลที่โตเต็มที่ น้ำมะนาว 2-3 ช้อนแกง, เมล็ดมะนาว 10-20 เมล็ด  นำน้ำมะนาวเติมเกลือเล็กน้อย จิบ จะช่วยทำให้เสมหะถูกขับออก และเสียงดี ถ้าเป็นเมล็ดมะนาวนำไปคั่วให้เหลือง บดให้ละเอียด เติมพิมเสน 2-5 เกล็ด ชงน้ำร้อนรับประทาน เป็นยาขับเสมหะ
2.               ยาป้องกันหรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน (ลักปิดลักเปิด)
ใช้น้ำจากผลที่แก่จัดไม่จำกัด เติมเกลือ น้ำตาล น้ำแข็ง ใช้เป็นเครื่องดื่ม หรือจะใส่ในอาหาร ก็ได้ผลเช่นกัน
3.               ยาห้ามเลือด ใส่แผลสด
ใช้น้ำจากผล ครึ่งช้อนชา หรือ 1/4 ช้อนแกง แผลถูกมีดบาด เลือดไม่หยุด บีบน้ำมะนาวลงไป 3-4 หยด เลือดจะหยุ

สรรพคุณ :
·         น้ำจากผล  -  แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ
·         ผล - แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
          ผลโตเต็มที่ จำนวนไม่จำกัด รับประทานเป็นผลไม้
สรรพคุณ :
·         ราก  กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายในและแก้เสมหะเป็นพิษ
·         ใบ - มีน้ำมันหอมระเหย
·         ผล, น้ำคั้นจากผล - ใช้แต่งกลิ่น สระผมรักษาชันนะตุ รังแค ทำให้ผมสะอาด
·         ผิวจากผล 
- ปรุงเป็นยาขับลมในลำไส้ แก้แน่น - เป็นยาบำรุงหัวใจ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
1.              ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ขับลมในลำไส้ แก้แน่น แก้เสมหะ
ฝานผิวมะกรูดสดเป็นชิ้นเล็กๆ 1 ช้อนแกง เติมการบูร หรือ พิมเสน 1 หยิบมือ ชงด้วยน้ำเดือด แช่ทิ้งไว้ ดื่มแต่น้ำรับประทาน 1 ถึง 2 ครั้ง แต่ถ้ายังไม่ค่อยทุเลา จะรับประทานติดต่อกัน 2-3 สะรก็ได้
2.              ใช้สระผมทำให้ผมสะอาดชุ่มชื้น เป็นเงางาม ดกดำ ผมลื่นด้วย
โดยผ่ามะกรูดเป็น 2 ชิ้น เมื่อสระผมเสร็จแล้ว เอามะกรูดสระซ้ำ ใช้มะกรูดยีไปบนผม น้ำมะกรูดเป็นกรด จะทำให้ผมสะอาด แล้วล้างผมให้สมุนไพรออกไปให้หมด หรือใช้มะกรูดเผาไฟ นำมาผ่าซีกใช้สระผม จะรักษาชันนะตุ ทำให้ผมสะอาดเป็นมัน
สรรพคุณ :
·         เหง้า 
- เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม - แก้บิด ท้องเดิน ขับประจำเดือนสตรี ทาแก้ฟกบวม แก้ผื่นคัน - เป็นยารักษาหืด - เป็นยากันเล็บถอด - ใช้ต้มน้ำอาบหลังคลอด
·         น้ำคั้นจากเหง้า - รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกบวม แพลงช้ำเมื่อย
·         หัว - ช่วยขับระดู ประจำเดือนสตรี เลือดร้าย แก้มุตกิตระดูขาว แก้อาเจียน แก้ปวดฟัน
·         ดอก - ขับโลหิตกระจายเลือดเสีย
·         ต้น - แก้ธาตุพิการ แก้อุจาระพิการ
·         ใบ - แก้ไข้ ปวดเมื่อย แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้เมื่อย
วิธีและปริมาณที่ใช้
·         แก้ท้องขึ้น ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม
ใช้เหง้าแห้งบดเป็นผง รับประทานครั้งละ ½ ถึง 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อน ผสมเกลือเล็กน้อย ดื่ม
·         รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำบวม ข้อเท้าแพลง
ใช้หัวไพลฝนทาแก้ฟกบวม เคล็ด ขัด ยอกใช้เหง้าไพล ประมาณ 1 เหง้า ตำแล้วคั้นเอาน้ำทาถูนวดบริเวณที่มีอาการ หรือตำให้ละเอียด ผสมเกลือเล็กน้อยคลุกเคล้า แล้วนำมาห่อเป็นลูกประคบ อังไอน้ำให้ความร้อน ประคบบริเวณปวดเมื่อยและบวมฟกช้ำ เช้า-เย็น จนกว่าจะหาย หรือทำเป็นน้ำมันไพลไว้ใช้ก็ได้ โดยเอาไพล หนัก 2 กิโลกรัม ทอดในน้ำมันพืชร้อนๆ 1 กิโลกรัม ทอดจนเหลืองแล้วเอาไพลออก ใส่กานพลูผงประมาณ 4 ช้อนชา ทอดต่อไปด้วยไฟอ่อนๆ ประมาณ 10 นาที กรองแล้วรอจนน้ำมันอุ่นๆ ใส่การบูรลงไป 4 ช้อนชา ใส่ภาชนะปิดฝามิดชิด รอจนเย็น จึงเขย่าการบูรให้ละลาย น้ำมันไพลนี้ใช้ทาถูนวดวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลาปวด (สูตรนี้เป็นของ นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา)
·         แก้บิด ท้องเสีย
ใช้เหง้าไพลสด 4-5 แว่น ตำให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำเติมเกลือครึ่งช้อนชา ใช้รับประทาน หรือฝนกับน้ำปูนใส รับประทาน
·         เป็นยารักษาหืด
ใช้เหง้าไพลแห้ง 5 ส่วน พริกไทย ดีปลี อย่างละ 2 ส่วน กานพลู พิมเสน อย่างละ ½ ส่วน บดผสมรวมกัน ใช้ผงยา 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อนรับประทาน หรือปั้นเป็นลูกกลอนด้วยน้ำผึ้ง ขนาดเท่าเม็ดพุทรา รับประทานครั้งละ 2 ลูก ต้องรับประทานติดต่อกันเวลานาน จนกว่าอาการจะดีขึ้น
·         เป็นยาแก้เล็บถอด
ใช้เหง้าไพลสด 1 แง่ง ขนาดเท่าหัวแม่มือ ตำให้ละเอียดผสมเกลือและการบูร อย่างละประมาณครึ่งช้อนชา แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นหนอง ควรเปลี่ยนยาวันละครั้ง
·         ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื่น และเป็นยาช่วยสมานแผลด้วย
ใช้เหง้าสด 1 แง่ง ฝานเป็นชิ้นบางๆ ใช้ต้มรวมกับสมุนไพรอื่นๆ เนื่องจากไพลมี่น้ำมันหอมระเหย
สรรพคุณ :
·         เนื้อผลมะกอก - มีรสเปรี้ยวฝาด หวานชุ่มคอ บำบัดโรคธาตุพิการ โดยน้ำดีไม่ปกติ และมีประโยชน์แก้โรคบิดได้ด้วย
·         น้ำคั้นใบมะกอก - ใช้หยอดหู แก้ปวดหูดี
·         ผลมะกอกสุก - รสเปรี้ยว อมหวาน รับประทานทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำได้ดี เช่น ผลมะขามป้อม
·         เปลือก - ฝาด เย็นเปรี้ยว ดับพิษกาฬ แก้ร้อนในอย่างแรง แก้ลงท้องปวดมวน แก้สะอึก
·         เมล็ดมะกอก - สุมไปให้เป็นถ่าน แช่น้ำ เอาน้ำรับประทานแก้ร้อนใน แก้หอบ แก้สะอึกดีมาก ใช้ผสมยามหานิล
·         ใบอ่อน - รับประทานเป็นอาหาร
วิธีใช้ : ใช้ผลรับประทานเป็นผลไม้ และปรุงอาหาร
สรรพคุณ :
·         ผลสุก - เป็นยากัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย
·         ยางจากผลดิบ - เป็นยาช่วยย่อย ฆ่าพยาธิ
·         ราก - ขับปัสสาวะ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
·         เป็นยาระบาย 
ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้
·         เป็นยาช่วยย่อย 
ก. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร ข. ยางจากผล หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 เกรน หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อยแท้ๆ ( Papain )
·         เป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟัน 
ใช้มะละกอสุกไม่จำกัด รับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซี
·         ราก เป็นยาขับปัสสาวะ
ข้อควรระวัง : 
          สำหรับผู้ที่รับประทานมะละกอสุกติดต่อกันเป็นจำนวนมาก เป็นเวลานาน อาจทำให้สารมีสีพวก Carotenoid ไปสะสมในร่างกายมากเกินไป ทำให้ผิวมีสีเหลือง
สรรพคุณ :
·         ดอก 
- รับประทาน แก้ปวดศีรษะ - ลดความดันของโลหิตที่ขึ้นสูง - แก้เลือดออกตามไรฟัน - แก้เสมหะพิการ
บัวบก
สรรพคุณ :
·         ใบ - มีสาร Asiaticoside ทำยาทาแก้แผลโรคเรื้อน
·         ทั้งต้นสด 
- เป็นยำบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า - รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือมีการชอกช้ำจากการกระแทก แก้พิษงูกัด - ปวดศีรษะข้างเดียว - ขับปัสสาวะ - แก้เจ็บคอ - เป็นยาห้ามเลือด ส่าแผลสด แก้โรคผิวหนัง - ลดความดัน แก้ช้ำใน
·         เมล็ด - แก้บิด แก้ไข้ ปวดศีรษะ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
·         ใช้เป็นยาแก้ปวดศีรษะข้างเดียว
ใช้ต้นสดไม่จำกัด รับประทาน หรือคั้นน้ำจากต้นสดรับประทาน ควรรับประทานติดต่อกัน 2-3 วัน
·         ใช้เป็นยาแก้เจ็บคอ
ใช้ทั้งต้นสด 10-20 กรัม หรือ 1 กำมือ ตำคั้นน้ำเติมน้ำส้มสายชู 1-3 ช้อนแกง จิบบ่อยๆ
·         เป็นยาลดความดันโลหิตสูง
ใช้ทั้งต้นสด 30-40 กรัม คั้นน้ำจากต้นสด เติมน้ำตาลเล็กน้อย รับประทาน 5-7 วัน
·         ยาแก้ช้ำใน (พลัดตกหกล้ม)
ใช้ต้นสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาด ตำคั้นน้ำ เติมน้ำตาลเล็กน้อย ดื่ม 1 ครั้ง รับประทานติดต่อกัน 5-6 วัน
·         เป็นยาถอนพิษรักษาแผลน้ำร้อนลวก
ใช้ทั้งต้นสด 2-3 ต้น ล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียดพอกแผลไฟไหม้ ช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อน
·         เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด
ใช้ใบสด 20-30 ใบ ล้างให้สะอาด ตำพอกแผลสด ช่วยห้ามเลือดและรักษาแผลให้หายเร็ว
      
สรรพคุณ :
·         ราก  แก้ท้องร่วง สมานแผล รักษาเริม และงูสวัด
·         เปลือกต้น - แก้ไข้ ตัวร้อน
·         แก่น - กล่อมเสมหะ และโลหิต ขับโลหิต ขับเสมหะ รักษาฝีในมดลูก รักษาโรคบุรุษ เป็นยาชักมดลูกให้เข้าอู่
·         ใบสด (มีกรดเล็กน้อย) - เป็นยาถ่าย ยาระบาย ขับลมในลำไส้ แก้ไอ แก้บิด รักษาหวัด ขับเสมหะ หยอดตารักษาเยื่อตาอักเสบ แก้ตามัว  ฟอกโลหิต ขับเหงื่อ ต้มผสมกับสมุนไพรอื่นๆ อาบหลังคลอดช่วยให้สะอาดขึ้น
·         เนื้อหุ้มเมล็ด - แก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย ยาถ่าย ขับเสมหะ แก้ไอ กระหายน้ำ เป็นยาสวนล้างท้อง
·         ฝักดิบ - ฟอกเลือด และลดความอ้วน เป็นยาระบายและลดอุณหภูมิในร่างกาย บรรเทาอาการไข้
·         เมล็ดในสีขาว - เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือนตัวกลมในลำไส้ พยาธิเส้นด้าย
·         เปลือกเมล็ด - แก้ท้องร่วง แก้บิดลมป่วง สมานแผลที่ปาก ที่คอ ที่ลิ้น และตามร่างกาย รักษาแผลสด ถอนพิษและรักษาแผลที่ถูกไฟลวก รักษาแผลเบาหวาน
·         เนื้อในฝักแก่ (มะขามเปียก) - รับประทานจิ้มเกลือ แก้ไอ ขับเสมหะ
·         ดอกสด - เป็นยาลดความดันโลหิตสูง
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
1.               เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือน ตัวกลม ตัวเส้นด้าย ได้ผลดี
ใช้เมล็ดคั่วกะเทาะเปลือกออก แล้วเอาเนื้อในเมล็ดแช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานเนื้อทั้งหมด ครั้งละ 20-30 เมล็ด
2.              เป็นยาระบาย ยาถ่าย
- ใช้เนื้อที่หุ้มเมล็ด (มะขามเปียก) แกะเมล็ดแล้วขนาด 2 หัวแม่มือ (15-30 กรัม) จิ้มเกลือรับประทาน แล้วดื่มน้ำตามมากๆ - เอามะขามเปียกละลายน้ำอุ่นกับเกลือ ฉีดสวนแก้ท้องผูก
3.              แก้ท้องร่วง
-เมล็ดคั่วให้เกรียม กะเทาะเปลือกรับประทาน -เปลือกต้น ทั้งสดและแห้ง ประมาณ 1-2 กำมือ (15-30 กรัม) ต้มกับน้ำปูนใส หรือ น้ำ รับประทาน
4.              รักษาแผล
เมล็ดกะเทาะเปลือก ต้ม นำมาล้างแผลและสมานแผลได้
5.              แก้ไอและขับเสมหะ
ใช้เนื้อในฝักแก่ หรือมะขามเปียก จิ้มเกลือรับประทานพอควร
6.              เป็นยาลดความดันสูง
ใช้ดอกสด ไม่จำกัดจำนวน ใช้แกงส้มหรือต้มกับปลาสลิดรับประทาน